Home ประกาศวิทยาลัย การจัดตั้ง   
 
 
 
 
 
การจัดตั้ง

 

ลำดับเหตุการณ์

การก่อตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.)

(College of Pharmaceutical & Health Consumer Protection of Thailand, CPHCP)

1. วันที่ 18 มิถุนายน 2550  มี “คำสั่งสภาเภสัชกรรม ที่ 12/2550  เรื่อง แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค” (ภก. ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม) เพื่อ การพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาคุ้มครองผู้บริโภค โดยการดำเนินการฝึกอบรม และรับรองวุฒิบัตรและหนังสืออนุบัตรฯ (คำสั่งแต่งตั้งตามเอกสารหมายเลข 1)

2. วันที่ 25 กันยายน 2550 คณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมครั้งแรก

3. วันที่ 20 ตุลาคม 2551 คณะอนุกรรมการฯ มีหนังสือลงวันที่ 20 ตุลาคม 2551 ส่ง (ร่าง) ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ให้สภาเภสัชกรรมพิจารณา

4. วันที่ 11 ธันวาคม  2551 ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภก.บรรเจิด เดชาศิลปชัยกุล) ทำหนังสือลงวันที่ 11 ธันวาคม  2551 เสนอความเห็น เรียกร้องให้นายกสภาเภสัชกรรมพิจารณาให้ความสำคัญเร่งด่วนในการสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาลัยฯ และออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยฯ โดยอ้าง มติการประชุมสมัชชา “เภสัชกรรมไทย 95 ปี มุ่งสู่ศตวรรษใหม่” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม2551 (เอกสารหมายเลข 2)

5. วันที่ 15 ธันวาคม 2551  คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ประชุม ครั้งที่ 164 (12/2551) วันที่ 15 ธันวาคม 2551  มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ข้อบังคับฯ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และหลักสูตรการฝึกอบรมวุฒิบัตร

6. วันที่ 23 มิถุนายน 2552  ที่ประชุมภาคีวิชาชีพด้านสุขภาพ ครั้งที่ 4/2552  วันที่ 23 มิถุนายน 2552  มีมติเห็นชอบ   ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทยฯ ตามที่สภาเภสัชกรรมเสนอ

7. วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 นายกสภาเภสัชกรรม (ภก.ภาวิช ทองโรจน์) ได้ลงนามในหนังสือสภาเภสัชกรรมที่ สภ 01/01/431  ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2552  ถึงสภานายกพิเศษ (นายวิทยา แก้วภราดัย .รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ลงรับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552

8. วันที่ 13 สิงหาคม 2552 สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุขส่งหนังสือของสภาเภสัชกรรมไปที่กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา และกลุ่มกฎหมายฯ รับเรื่องเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552

9. วันที่  15  กุมภาพันธ์  2553 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เสนอสภานายกพิเศษ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบออก ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย

10. วันที่ 3 สิงหาคม 2553  ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภก.บรรเจิด  เดชาศิลปชัยกุล)  มีหนังสือลงวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ถึง นายกสภาเภสัชกรรม (ภญ.ธิดา นิงสานนท์) และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์) เพื่อสอบถามความก้าวหน้าในการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ  และขอให้แจ้งให้ชมรมฯ ทราบภายในวันที่ 30 กันยายน  2553  หากพ้นกำหนด ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ  ชมรมฯ มีความจำเป็นต้องขอความเป็นธรรมจากศาลปกครองต่อไป (เอกสารหมายเลข 3)

11. วันที่ 20 สิงหาคม 2553  สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือลงวันที่  20 สิงหาคม 2553  แจ้งประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาแล้ว

12. วันที่ 20 สิงหาคม 2553  สภาเภสัชกรรมได้มีหนังสือที่ สภ 01/01/529  ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2553  ถึงสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสอบถามความคืบหน้าร่างข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ

13. วันที่ 20 กันยายน 2553 สภาเภสัชกรรมได้เชิญตัวแทนจากชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องของเภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553   ที่ประชุมมีมติให้ อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่หนึ่ง (ภก.กิตติ  พิทักษ์นิตินันท์) ติดตามการออกข้อบังคับฯ และให้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ  การเพิ่มหลักสูตรพัฒนาทักษะพื้นฐานงานคุ้มครองผู้บริโภคในหลักสูตร   ปริญญาตรี 6 ปี  รวมทั้งให้เร่งประชาสัมพันธ์ประเด็นวิชาชีพให้สังคมให้การยอมรับ

14. วันที่ 27 กันยายน 2553 ผศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอสำเนาเอกสารร่างข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ไปยังสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้พิจารณาร่างข้อบังคับฯ และสำนักงานรัฐมนตรีฯ ได้แจ้งให้สภาเภสัชกรรมดำเนินการถอนเรื่องเสนอข้อบังคับฯ วิทยาลัยฯ และ ร่างข้อบังคับฯ อีก 3 ร่างที่ค้างการพิจารณา คืนจากเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  เพื่อนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการประชุมเดือนตุลาคม และให้เสนอเข้ามาอีกครั้ง

15. วันที่ 1 ตุลาคม 2553  ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัด (ภก.ชูชัย รัตนศรีทอง) ส่งหนังสือที่ นว 0027.004.1/พิเศษ/6  ลงวันที่  1  ตุลาคม 2553  พร้อมรายชื่อสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ  ให้เลขาธิการสภาเภสัชกรรม เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในวันที่ 18  ตุลาคม  2553  (เอกสารหมายเลข 4)

16. วันที่ 18 ตุลาคม 2553  คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ประชุม ครั้งที่ 186 (10/2553) วันที่ 18 ตุลาคม 2553  ได้พิจารณา และมีมติเห็นชอบ(ยืนยัน/อีกครั้ง) ให้เสนอข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ไปยังสภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) เพื่อให้พิจารณาเห็นชอบในการออกข้อบังคับฯ

17. วันที่ 29 ตุลาคม 2553  สภาเภสัชกรรมได้มีหนังสือที่ สภ 01/01/755  ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2553  เสนอ สภานายกพิเศษ (นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

18. วันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 สภานายกพิเศษ นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ ลงนามให้ความเห็นชอบ

19. วันที่ 19  พฤศจิกายน  2553   สภาเภสัชกรรมได้ส่งข้อบังคับฯ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามเห็นชอบแล้ว ไปยังสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

20. วันที่ 14 มกราคม 2554  “ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม พ.ศ.2553”  ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 4 ง วันที่ 14 มกราคม 2554  หน้า 72-77   และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2554 (เอกสารหมายเลข 5)

21. วันที่ 7 มีนาคม 2554  สภาเภสัชกรรมได้มีคำสั่งสภาเภสัชกรรมที่ 7/2554  แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ ภญ.สำลี  ใจดี เป็นผู้อำนวยวิทยาลัย และ ภญ.จุไรรัตน์  นันทานิช เป็นรองผู้อำนวยการวิทยาลัย  ทำหน้าที่คณะผู้บริหารวิทยาลัยชั่วคราว

22. วันที่ 16 มีนาคม 2554  วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ (วคบท.) มีคำสั่ง วคบท.ที่ 1/2554  แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการดำเนินกิจการ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทยในระยะเริ่มแรก”  เพื่อให้มีหน้าที่จัดทำหลักเกณฑ์  สรรหา และเสนอชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติได้รับหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมอนุมัติเป็นสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัยฯ รวมทั้งงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  (เอกสารหมายเลข 6)

23. วันที่ 29 มีนาคม 2554 คณะอนุกรรมการดำเนินกิจการฯ ประชุมครั้งแรก

24. วันที่ 12  เมษายน 2554  วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ (วคบท.) เสนอ “ ร่าง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้มีคุณสมบัติได้รับหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพต่อสภาเภสัชกรรมเพื่อพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาฯ

25. วันที่ 18  เมษายน  2554 คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ประชุม ครั้งที่ 192 (4/2554) มี มติเห็นชอบ

26. วันที่ 21 เมษายน 2554  มี ประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 6/2554  เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาฯ ดังกล่าว

27. วันที่ 22 เมษายน 2554  วิทยาลัยฯ  ออกประกาศ วคบท.ที่ 1/2554 เรื่อง การรับสมัครสอบคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับหนังสืออนุมัติฯ

28. วันที่ 25 เมษายน 2554  วิทยาลัยฯ  ออกคำสั่ง วคบท.ที่ 2/2554  เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการสอบคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับหนังสืออนุมัติฯ

29. วันที่ 25 พฤษภาคม 2554  สิ้นสุดการรับสมัคร  มีผู้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกทั้งสิ้น 23 ราย

30. วันที่ 30 พฤษภาคม 2554  วิทยาลัยฯ  ออกประกาศ วคบท.ที่ 2/2554  เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียนฯ จำนวน 21 ราย (หลังจากตรวจสอบเอกสาร)

31. วันที่ 1 มิถุนายน 2554  คณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จัดการสอบข้อเขียน

32. วันที่ 6 มิถุนายน 2554  วิทยาลัยฯ  ออกประกาศ วคบท.ที่ 3/2554 เรื่อง รายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนฯ เพื่อเข้าสอบปากเปล่า  ซึ่งมีผู้สอบผ่านข้อเขียนจำนวน 20 ราย

33. วันที่ 9 มิถุนายน 2554  คณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จัดการสอบปากเปล่า

34. วันที่ 17 มิถุนายน 2554  วิทยาลัยฯ ออก “ระเบียบ วคบท.ว่าด้วยการเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย พ.ศ.2554”

35. วันที่ 17 มิถุนายน 2554  วิทยาลัยฯ ได้เสนอรายชื่อผู้สอบผ่านทั้งข้อเขียนและปากเปล่า จำนวน 19  ราย ต่อคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัยฯ รวมทั้งแจ้งเรื่องที่ วิทยาลัยฯ ได้ออกระเบียบ วคบท.ว่าด้วยการเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย พ.ศ.2554 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2554  (เอกสารหมายเลข 7)

36. วันที่ 20 มิถุนายน 2554 คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ประชุม ครั้งที่ 194(6/2554) วันที่ 20 มิถุนายน 2554 มีมติเห็นชอบ ให้ผู้สอบผ่านการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับหนังสืออนุมัติฯ เป็นสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัย จำนวน 19 ราย และรับทราบ ระเบียบ วคบท.ว่าด้วยการเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย พ.ศ.2554

37. วันที่ 24 มิถุนายน 2554  สภาเภสัชกรรมได้มีประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 16/2554  เรื่อง รายชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับหนังสืออนุมัติฯ เป็นสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัย จำนวน 19 ราย

38. วันที่ 6 กรกฎาคม 2554  วิทยาลัยฯ ได้ออกคำสั่ง วคบท. ที่ 3/2554  เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย

39. วันที่ 11 กรกฎาคม 2554 คณะอนุกรรมการดำเนินการเลือกตั้งฯ ประชุมครั้งที่ 1/2554

40. วันที่ 11 กรกฎาคม 2554  วิทยาลัยฯ ออกประกาศ วคบท.ที่ 4/2554  เรื่อง การรับสมัครสมาชิกสามัญของวิทยาลัย เพื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ในวาระแรก  ซึ่งเมื่อสิ้นสุดวันรับสมัครในวันที่ 11 กรกฎาคม 2554    มีผู้มายื่นใบสมัคร 2 ราย  ได้แก่  หมายเลข 1. ภก.ทวีเกียรติ เลาหะวลีสันติ์  และ หมายเลข 2. ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์

41. .วันที่ 12 กรกฎาคม 2554  วิทยาลัยฯ มีหนังสือที่ สภ 01/วคบท.09  แจ้งให้สมาชิกก่อตั้งวิทยาลัยทุกคน ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำทะเบียนสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัยฯเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ

42. วันที่ 28 กรกฎาคม 2554  คณะอนุกรรมการดำเนินการเลือกตั้งฯ ประชุมครั้งที่ 2/2554 เพื่อพิจารณาวิธีการเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย โดยเห็นชอบให้ใช้ 2 วิธีควบคู่กัน คือ ส่งบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์และเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่สมาชิก กำหนดวันสิ้นสุดการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ วันที่ 2 กันยายน  2554  และเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่สมาชิก ในวันที่ 3 กันยายน 2554

43. วันที่ 29 กรกฎาคม 2554  วิทยาลัยฯ ออกประกาศ วคบท.ที่ 5/2554 เรื่อง กำหนดการและวิธีการเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย วาระที่ 1 โดยวิธีส่งบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์และเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่สมาชิก กำหนดวันสิ้นสุดการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ วันที่ 2 กันยายน  2554  เวลา 16.30 น.  ร่วมกับการเลือกตั้งโดยที่ประชุมใหญ่สมาชิกสามัญของวิทยาลัย ในวันที่ 3 กันยายน 2554  ระหว่างเวลา 11.10–11.30 น

44. วันที่ 29 กรกฎาคม 2554  วิทยาลัยฯ ออกประกาศ วคบท.ที่ 6/2554  เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย

45. วันที่ 1 สิงหาคม 2554  วิทยาลัยฯ ออกคำสั่ง วคบท. ที่ 4/2554  แต่งตั้งคณะทำงานนับคะแนนการเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย  และ คำสั่ง วคบท.ที่ 5/2554  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิธีการในงานพิธีมอบหนังสืออนุมัติฯ

46.    วันที่ 3 กันยายน 2554  วิทยาลัยฯ จัดงานพิธีมอบหนังสืออนุมัติฯ  ณ  ห้องประชุมสารนิเทศ ชั้น 2  หอประชุมใหญ่  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ประธานในพิธี คือ นายกสภาเภสัชกรรม  หลังเสร็จสิ้นพิธี มีการ

46. วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2554  วิทยาลัยฯ จัดการประชุมใหญ่สมาชิกสามัญของวิทยาลัย เพื่อเลือกตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัย วาระที่ 1  ซึ่งมีผู้สมัคร 2 ท่าน  ได้แก่  หมายเลข 1  ภก.ทวีเกียรติ เลาหะวลีสันติ์   หมายเลข 2  ภก.วิทยา  กุลสมบูรณ์   ผลการเลือกตั้ง  มีสมาชิกใช้สิทธิ 18 ราย ไม่ใช้สิทธิ 1 ราย  ภก.วิทยา  กุลสมบูรณ์ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 16 คะแนน  ภก.ทวีเกียรติ  เลาหะวลีสันติ์ 2 คะแนน  วิทยาลัยฯ จึงได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ด้วยคะแนนสูงสุดให้สมาชิกทักท้วงภายใน 7วัน ก่อนส่งให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ต่อไปหลังจากเสร็จสิ้นพิธีมอบหนังสืออนุมัติฯ

47. วันที่ 14 กันยายน 2554  วิทยาลัยฯ เสนอชื่อ ภก.วิทยา  กุลสมบูรณ์ให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ วาระที่ 1 (พ.ศ.2554-2557)  และเตรียมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจัดระบบการศึกษาและจัดทำหลักเพื่อยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อขอรับหนังสืออนุมัติฯ หรือวุฒิบัตรเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ซึ่งจะประกอบด้วย ตัวแทนจาก สภาเภสัชกรรม, คณะอนุกรรมการดำเนินกิจการ วคบท., ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้อำนวยการวิทยาลัยวาระที่ 1,  และตัวแทนสมาชิกสามัญของวิทยาลัย

48. วันที่ 20  กันยายน  2554  สภาเภสัชกรรมออกประกาศฯ ที่ 21/2554  ลงวันที่ 20 กันยายน 2554

แต่งตั้ง ภก.วิทยา  กุลสมบูรณ์  เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและ

สุขภาพแห่งประเทศไทย วาระที่ 1 (พ.ศ.2554 – 2557)

49. วันที่  12  ตุลาคม  2554  คณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจัดระบบการศึกษาและจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อขอรับหนังสืออนุมัติฯ หรือวุฒิบัตรเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ได้ยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมฯ เสร็จสิ้น วิทยาลัยฯ ได้เห็นชอบและเสนอสภาเภสัชกรรมเพื่อพิจารณารับรองหลักสูตรต่อไป

 

 
We have 3 guests online
 
 
สำนักงานวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย ชั้น 8 อาคารมหิตลาธิเบศร กระทรวงสาธารณสุข
เลขที่ 88/19 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
Email : cphcp.th@gmail.com โทรศัพท์ : 02 591 9992 ต่อ 7